ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ได้มีการเปิดตัวรถฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ 10 เป็นประเทศที่สองต่อจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ผลิตในโรงงานแห่งใหม่ของฮอนด้าที่จังหวัดปราจีนบุรีเพื่อส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นนี้ได้ใช้แพลตฟอร์มใหม่ที่พัฒนามาจากฮอนด้า แอคคอร์ด ทำให้ภายในห้องโดยสารและมิติของตัวถังมีความกว้างขวางกว่ารุ่นที่ผ่านมา ตัวถังมีการออกแบบเป็นแบบฟาสต์แบ็ก (ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาเทลาดลงไปจนเกือบถึงด้านท้ายสุดของกระโปรงท้าย) ภายนอกมีการออกแบบกระจังหน้าใหม่ที่ลากยาวเชื่อมต่อไปถึงสองฝั่งของไฟหน้า โดยสำหรับรุ่น Turbo RS ได้ใช้ไฟหน้า LED และกระจังหน้าสีดำ ส่วนรุ่น E, EL และ Turbo ไฟหน้าแบบโปรเจ็กเตอร์และกระจังหน้าโครเมียม ส่วนไฟท้ายมีลักษณะเป็นตัว C มีไฟเลี้ยวแสดงตำแหน่งตรงที่หน้าซุ้มล้อหน้าคล้ายกับเวอร์ชันอเมริกาแต่จะเป็นโคมสีขาว
ภายในนั้นมีการปรับปรุงใหม่มากมายซึ่งมีความแตกต่างจากรุ่นที่ 9 มาก รุ่นนี้ได้ใช้หน้าจอมาตรวัดความเร็วเป็นแบบหน้าจอดิจิทัล LCD ขนาด 7 นิ้วแบบใหม่ซึ่งไม่เป็นแบบสองชั้นแบบรุ่นที่แล้วและมีหน้าจอเอ็นโฟนเทนเมนต์สัมผัสขนาด 7 นิ้วที่สามารถรองรับระบบแอปเปิ้ล คาร์เพลย์และแอนดรอยด์ ออโต้ รุ่นนี้แบ่งเครื่องยนต์เป็น 2 รุ่น คือ เครื่องยนต์ 1.8 ลิตรบล็อกเดิม และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเทอร์โบ ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT ซึ่งทั้งเครื่องยนต์และระบบเกียร์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาภายใต้เทคโนโลยีเอิร์ธดรีม ให้กำลังสูงสุด 173 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุดที่ 220 นิวตันเมตร ที่ 1,700–5,500 รอบต่อนาที ให้กำลังเทียบเท่าเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตร มีอัตราการประหยัดน้ำมันเทียบเท่าเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตร โดยเครื่องยนต์ทั้งสองรุ่นไม่มีเกียร์แบบธรรมดาในประเทศไทยแล้ว
ฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ 10 ในประเทศไทยได้แบ่งออกเป็น 4 รุ่นย่อยคือ 1.8 E, 1.8 EL, 1.5 Turbo และ 1.5 Turbo RS”การเสื่อมลงของสเปน” เป็นไปอย่างช้า ๆ เริ่มต้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีปัจจัยมาจากการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ประเด็นหลักคือความตึงเครียดเกี่ยวกับกำลังทหาร เป็นเวลานานที่กองทัพสเปนสามารถป้องกันไม่ให้จักรวรรดิฮาพส์บวร์คแตกแยกกระจัดกระจายได้ แต่ในที่สุดความเข้มแข็งนี้ก็พังทลายลง เมื่อสเปนต้องเสียเนเธอร์แลนด์ไปหลังจากสิ้นสุดสงครามสามสิบปี (Thirty Years War) และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1640 (พ.ศ. 2183) ความปราชัยของสเปนครั้งสำคัญก็คือ การเสียโปรตุเกสไป ซึ่งนั่นหมายถึงเสียบราซิลและฐานที่มั่นในแอฟริกาและอินเดียไปด้วย
เมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดปัญหาว่าใครควรจะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ จึงทำให้กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ทรงสู้รบกันในสงครามสืบราชสมบัติสเปน (War of the Spanish Succession) ในที่สุดสงครามนี้ก็ทำให้สเปนสูญเสียความเป็นจักรวรรดิและตำแหน่งผู้นำของยุโรปไป แม้ว่าจะยังคงมีดินแดนโพ้นทะเลอยู่ก็ตาม) และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ราชวงศ์ใหม่จากฝรั่งเศส คือ ราชวงศ์บูร์บง ได้รับการสถาปนาขึ้นในสเปนโดยกษัตริย์พระองค์แรก คือ พระเจ้าฟิลิปที่ 5 ในปี ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ทรงรวมราชอาณาจักรกัสติยาและอารากอนเข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรสเปน และทรงล้มล้างสิทธิพิเศษและกฎหมายปกครองตนเอง ในศตวรรษนี้ การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การเพิ่มมูลค่าทางการค้าและการผลิตอาหารค่อย ๆ ได้รับการฟื้นฟูขึ้น จำนวนประชากรในแคว้นกัสติยาก็เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ กษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงได้ใช้ระบบของฝรั่งเศสเพื่อพยายามทำให้การบริหารและเศรษฐกิจมีความทันสมัยยิ่งขึ้น เมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 การค้าก็เริ่มมีความมั่นคงขึ้นในที่สุด ฐานะของสเปนในสายตานานาชาติดีขึ้น กำลังทหารของสเปนที่มีประสิทธิภาพยังได้ช่วยเหลือชาวอาณานิคมอังกฤษในสงครามประกาศเอกราชอเมริกัน (American War of Independence) อีกด้วย
การปกครองของนโปเลียนและผลสืบเนื่อง สงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) ทำให้ภายในประเทศเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างชัดเจนต่อพวกชั้นสูงที่นิยมวัฒนธรรมฝรั่งเศส สเปนทำสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1795 (พ.ศ. 2338) และในปีถัดมา ภายใต้การสนับสนุนของฝรั่งเศส สเปนก็ได้ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรกับโปรตุเกส ความหายนะทางเศรษฐกิจประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ นั้นทำให้กษัตริย์ของสเปนต้องทรงสละราชสมบัติ ซึ่งโจเซฟ โบนาปาร์ต พี่ชายของนโปเลียนก็ได้เข้ามามีอำนาจแทน “วันที่สองของเดือนพฤษภาคม 1808” (The Second of May, 1808) โดยฟรันซิสโก เด โกยา (Francisco de Goya)
กษัตริย์ต่างชาติพระองค์ใหม่นี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวสเปน ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) ชาวมาดริดเริ่มก่อการจลาจลชาตินิยมต่อต้านกองทัพฝรั่งเศส ซึ่งชาวสเปนเรียกว่าเป็น “สงครามประกาศเอกราชสเปน (Guerra de la Independencia Española)” ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า สงครามคาบสมุทร (Peninsular War) นโปเลียนได้เข้ามาแทรกแซงเป็นการส่วนตัวและสามารถปราบปรามกองทัพสเปนและอังกฤษ-โปรตุเกสลงได้ แต่การสู้รบแบบกองโจรของทหารสเปน รวมทั้งกำลังจากกองทัพอังกฤษ-โปรตุเกสที่ นำโดยอาร์เทอร์ เวลเลสลีย์ ประกอบกับการที่นโปเลียนประสบความล้มเหลวในการรุกรานรัสเซีย (Invasion of Russia) ได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปจากสเปนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์ การรุกรานของฝรั่งเศสยิ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของสเปน และยังทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาวะไม่มั่นคงทางการเมืองอีกด้วย ช่องว่างแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) ถึงปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) ได้เปิดโอกาสให้ดินแดนต่าง ๆ มีอำนาจปกครองอย่างอิสระ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1809 (พ.ศ. 2352) อาณานิคมในทวีปอเมริกาเริ่มปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากการปกครองของสเปน และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1825 (พ.ศ. 2368) สเปนก็เสียอาณานิคมในลาตินอเมริกาไปทั้งหมด เหลือเพียงคิวบาและปวยร์โตรีโก