บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ เลกซัส อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวรถหรูฟูลไซส์ Lexus LS รุ่นใหม่เจนเนอเรชั่น 5 ที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด ภาพลักษณ์สปอร์ตกว่าที่เคย ตัวรถพัฒนาขึ้นบนแพลทฟอร์มใหม่ TNGA – Toyota New Global Architecture เช่นเดียวกับรถรุ่นใหม่อย่าง Toyota Auris, Toyota Prius และ Toyota C-HR. เลกซัส LS ใหม่ นับเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 5 พัฒนาขึ้นโดยเน้นการผสมผสานรูปลักษณ์และเสน่ห์แห่งยนตกรรมแถวหน้าที่เปี่ยมด้วยความหรูหรา ผ่านมาตรฐานฝีมือการผลิตและความเอาใจใส่ขั้นสูงแบบญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อด้านความปราณีตและพิถีพิถัน (Takumi Craftsmanship) อันเป็นเอกลักษณ์ เลกซัส LS จึงสะท้อนถึงขนบธรรมเนียมในการต้อนรับและการบริการแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Omotenashi” ด้วยการทำให้ทุกรายละเอียดของยนตกรรมนี้ นำมาซึ่งบรรยากาศแห่งความสงบและความผ่อนคลาย สร้างช่วงเวลาอันน่าจดจำ มิอาจลืมเลือน เลกซัส LS ใหม่ เผยโฉมสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำหรับประเทศไทยนั้น ถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้นำเสนอความหรูหราสมบูรณ์แบบของเลกซัส LS ใหม่ ให้ลูกค้าชาวไทยได้สัมผัส
มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “LS400 เปิดตัวสู่ตลาดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ณ เวลานั้นเลกซัสดึงความสนใจจากกลุ่มลูกค้าชาวไทยที่มีมุมมองในการแสวงหาความแตกต่างเพื่อรถระดับหรูที่ดีที่สุดท่ามกลางตัวเลือกอื่น ปัจจุบัน เลกซัส ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่รักของกลุ่มคนไทยที่รับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ เราขอเรียกคนเหล่านี้ด้วยความเคารพว่าเป็น “แฟนพันธุ์แท้ของเลกซัส LS” ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 700 ท่าน ผมขอแนะนำ เลกซัส LS ใหม่ เจนเนอเรชั่นที่ 5 นอกจากจะมีบทบาทเป็นรถรุ่นเรือธงของแบรนด์เลกซัสแล้ว เลกซัส LS ใหม่ ยังจะเป็นผู้นำในการพาเลกซัสสู่อนาคต และจะพลิกเกมด้วยการเพิ่มคุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเข้าไปในแบรนด์ของเรา ทำให้แบรนด์เลกซัสมีความเร้าใจมากยิ่งขึ้น”
มร. โคจิ ซาโต้ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส เลกซัส อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “เลกซัส LS เจนเนอเรขั่นที่ 5 พัฒนาขึ้น เพื่อสร้างนิยามใหม่แห่งความหรูหรา โดยคงไว้ซึ่ง DNA ของเลกซัส LS รุ่นแรก และได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับสุนทรียภาพการขับขี่อันยอดเยี่ยม ด้วยการออกแบบให้คงความเป็น LS แบบดั้งเดิม แต่เพิ่มความประทับใจในการออกแบบด้านอารมณ์ความรู้สึกเพื่อกระตุ้นทุกโสตสัมผัส โดยเลกซัส LS นับเป็นรุ่นเรือธงที่รวมนวัตกรรมด้านยานยนต์ของเลกซัส เป็นตัวตนที่เหนือกว่ายานยนต์ระดับหรูแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ภายใต้หลักการพัฒนา 4 จุดหลัก ดังนี้
การออกแบบที่กล้าจะแตกต่าง” (Brave Design): โดดเด่นด้วยการออกแบบภายนอกที่เร่งเร้าและดุดัน มาพร้อมเส้นสายโฉบเฉี่ยวเฉพาะตัว ห้องโดยสารภายในหรูหราเหนือระดับ ให้ความ สำคัญสูงสุดสำหรับความสะดวกสบายของผู้โดยสารตอนหลัง
- “ความปราณีตและความพิถีพิถัน” (Takumi Craftsmanship): สะท้อนผ่านการออกแบบที่ผสานความงดงามแห่งศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นกับเทคโนโลยีการผลิตอันก้าวล้ำ ละเมียดละไมในทุกรายละเอียดประดุจงานหัตถศิลป์ชั้นสูง
- “สมรรถนะที่เร้าใจ” (Exhilarating Performance): แรงเต็มสมรรถนะด้วยขุมพลังเครื่องยนต์ 3 รูปแบบ อัตราเร่งนุ่มนวลตอบสนองความรู้สึกผู้ขับขี่ ควบคุมการทรงตัวได้อย่างมั่นใจ และตัวถังรถพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เพื่อการขับขี่ที่รื่นรมย์
- “เทคโนโลยีแห่งอนาคต” (Imaginative Technology): ครบครันและล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีระดับสูง เติมเต็มสุนทรียภาพความบันเทิงด้วยเครื่องเสียง Mark Levinson และมั่นใจสูงสุดด้วยระบบความปลอดภัย Lexus Safety System Plus”
เลกซัส LS เจนเนอเรชั่นที่ 5 มาพร้อมกับระบบเครื่องยนต์ 3 ทางเลือก เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฮบริด เครื่องยนต์ V6 ขนาด 3.5 ลิตร ในรุ่น LS 500h เต็มสมรรถนะยิ่งขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มาพร้อมกับชุดเกียร์ใหม่ Lexus Multi Stage Hybrid สุดยอดนวัตกรรมที่จะทำให้เครื่องไฮบริดขับสนุกเร้าใจยิ่งขึ้น อีกทั้งเครื่องยนต์ใหม่แบบเทอร์โบชาร์จคู่ V6 ขนาด 3.5 ลิตร ในรุ่น LS 500 มาพร้อมเกียร์อัตโนมัติ Direct Shift 10 ระดับ ตอบสนองสุนทรียะด้านการขับขี่สูงสุด และ เครื่องยนต์ V6 ขนาด 3.5 ลิตร ในรุ่น LS 350 ให้ความนุ่มนวลตลอดการขับขี่ ยิ่งไปกว่านั้นด้วยแนวทางการออกแบบชั้นเยี่ยม L-finesse ทำให้เลกซัส LS เป็นยนตกรรมที่สมบูรณ์แบบในทุกรายละเอียดจอภาพผลึกเหลว (อังกฤษ: liquid crystal display: LCD) เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่
แต่ละพิกเซลของจอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมเลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง ก่อนที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็กจิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป
โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษTN+Film (Twisted Nematic) เป็นเทคโนโลยีของจอผลึกเหลว ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน พัฒนาจนสามารถทำให้มีความเร็วของการตอบสนองด้วยความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำให้เงาบนภาพเคลื่อนไหวลดลงได้มาก ทำให้จอแบบ TN+Film มีจุดเด่นด้านการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (จอTN+Film จะใช้การวัดการตอบสนอง เป็นแบบ grey to grey ซึ่งจะแตกต่างจากค่า ISO ที่วัดแบบ black to white) แต่จุดเสียของจอแบบ TN+Film นั่นคือมีรัศมีการมองเห็นที่แคบ โดยเฉพาะแนวตั้ง และส่วนใหญ่จะไม่สามารถแสดงสีได้ครบ 16.7ล้านสี (24-bit truecolor)
IPS (In-Plane Switching) คิดค้นโดยบริษัท Hitachi ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นกว่า TN+Film ทั้งด้านรัศมีการมองเห็น และการแสดงสีที่ 8-bit แต่การปรับปรุงดังกล่าว ทำให้เกิดการตอบสนองที่ชักช้า ถึง 50ms และยังแพงมากอีกด้วย จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 Hitachi ได้นำระบบ S-IPS (Super-IPS) ออกมาแทนที่ระบบ IPS เดิม ซึ่งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการตอบสนองที่ดีขึ้น และสีสันที่ใกล้เคียงจอภาพแบบ CRT พบได้ในโทรทัศน์ระบบจอผลึกเหลว
MVA เป็นการรวมข้อดีระหว่าง TN+Film กับ IPS เข้าด้วยกันทำให้มี Response Time ที่ต่ำ และ View Angle ที่กว้างเป็นพิเศษ แต่มีราคาแพงมาก
PVA เป็นการพัฒนาจากแบบ MVA ให้มีราคาถูกลงซึ่งทำให้มีค่า Contrast Ratio ที่สูงมาก และมี Response Time ที่ต่ำ ใช้ในจอภาพแบบผลึกเหลวระดับสูง