โตโยต้า วีออส (อังกฤษ: Toyota Vios) เป็นรถรุ่นตระกูลที่โตโยต้า ออกแบบมาเพื่อมาแทนที่รถรุ่นโซลูน่า (Soluna) เริ่มผลิตรุ่นแรกใน พ.ศ. 2545 โดยจัดเป็นรถขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) โดยทั่วไปจะนิยมนำรถวีออสไปใช้งานเป็นรถยนต์ส่วนตัว แต่มีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ในบางประเทศ เช่นในอินโดนีเซีย จะมีรถวีออสสำหรับทำเป็นแท็กซี่จำหน่ายในชื่อ “โตโยต้า ลิโม” (ต่างจากในประเทศไทย ที่รถโตโยต้า ลิโม คือรุ่นโคโรลล่าที่มีการตัด Option ต่างๆ ออก เพื่อให้รถมีราคาถูก เหมาะกับการซื้อไปเป็นแท็กซี่เช่า) และมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง วีออส เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับรถยนต์หลายรุ่น ที่สำคัญๆ คือ ฮอนด้า ซิตี้, เชฟโรเลต อาวีโอ ด้วยความที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถส่วนบุคคลขนาดเล็กราคาถูก มอลโดวา (มอลโดวา: Moldova) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลโดวา (มอลโดวา: Republica Moldova) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างประเทศโรมาเนียทางทิศตะวันตก และประเทศยูเครนทางทิศตะวันออก มีพรมแดนกับโรมาเนียตามแม่น้ำพรุต (Prut River) และแม่น้ำดานูบ (Danube River)
ในอดีตพื้นที่ประเทศมอลโดวาอยู่ในอาณาบริเวณของราชรัฐมอลดาเวีย (Principality of Moldavia) ต่อมาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในปี พ.ศ. 2355 และได้รวมกับดินแดนโรมาเนียอื่น ๆ เป็นประเทศโรมาเนียในปี พ.ศ. 2461 หลังจากเปลี่ยนผู้มีอำนาจเหนือดินแดนนี้ไปมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มอลโดวาก็ได้กลายเป็นดินแดนของสหภาพโซเวียตในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian SSR) ระหว่างปี พ.ศ. 2488-2534 จนในที่สุดก็ได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2534ในบรรดากลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช มอลโดวาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเป็นอันดับที่สอง รองจากอาร์เมเนีย ในประวัติศาสตร์ มอลโดวาเป็นรัฐเล็กๆ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปรุตกับแม่น้ำนีสเตอร์ ซึ่งรู้จักกันในครั้งนั้นว่า เบสซาเรเบีย (Bessarabia) เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโรมาเนีย ต่อมาถูกรุกรานและมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนบ่อยครั้ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง รัฐนี้จึงได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหภาพโซเวียต
ในสมัยยุคกลาง ดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาที่ขณะนี้ถูกผนวกรวมกับโรมาเนียและยูเครน เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฮังการีและลิทัวเนีย ในคริสตศวรรษที่ 16 ถูกตุรกีเข้ามาปกครอง และถูกผนวกรวมกับจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย จักรวรรดิรัสเซียต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งของมอลโดวา (ทางใต้ของเบสซาเรเบีย) ให้โรมาเนีย แต่ก็ได้กลับคืนมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุมใหญ่เบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1878 ต่อมาจักรวรรดิรัสเซียต้องเสียดินแดนเบสซาเรเบียให้โรมาเนียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 และในปี ค.ศ. 1924 สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียขึ้นทางภาคตะวันออกของแม่น้ำนีสเตอร์ (ประชากรส่วนใหญ่เป็นมีเชื้อชาติยูเครน) และไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของโรมาเนียเหนือดินแดนเบสซาเรเบีย ภายหลังจากการลงนามกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ ในปี ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้ดินแดนเบสซาเรเบียกลับคืนมาและผนวกรวมกับสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียในปี ค.ศ. 1940 และเสียดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาให้โรมาเนียอีกครั้งเมื่อเยอรมันบุกสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ยกเว้นทางด้านตะวันออกของแม่น้ำนีสเตอร์ ส่วนบริเวณทรานส์นีสเตรียซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับแม่น้ำบูก (Bug) ก็ถูกครอบครองโดยกองกำลังทหารของโรมาเนียที่เข้าไปสร้างความโหดร้ายให้แก่ชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่ชาวยิวและชาวยิบซีได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มอลโดวาก็กลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสหภาพโซเวียตอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944
เขตแดนในปัจจุบันของมอลโดวาถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เมื่อได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียอีกครั้ง และโรมาเนียยอมยกมอลโดวาให้สหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงมีการรื้อฟื้นการปกครองแบบโซเวียต และสาธารณรัฐมอลโดวาก็เข้าสู่กระบวนการแผลงให้เป็นรัสเซีย (Russiafication) อย่างเข้มงวด ทำให้ในระหว่างนั้น มอลโดวาถูกแยกออกจากการปกครองของโรมาเนียอย่างเด็ดขาด อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ผู้อพยพชาวยูเครนกับชาวรัสเซียเข้าไปตั้งถิ่นฐานในมอลโดวา โดยเฉพาะบริเวณเขตอุตสาหกรรมทรานส์นีสเตรีย นโยบายแผลงให้เป็นรัสเซียในมอลโดวาดำเนินไปอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สองและเริ่มเบาบางลงเมื่อสหภาพโซเวียตมีนโยบายกลัสนอสต์ (Glasnost) ในปลายปี ค.ศ. 1986 และต่อมาในปี ค.ศ. 1989 กระบวนการแยกตัวเป็นเอกราชและการปฏิรูปประเทศของมอลโดวาก็เริ่มชัดเจนขึ้น โดยผลที่เป็นรูปธรรมที่สุด คือ การที่รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องยอมให้ภาษามอลโดวาภาษาทางการแทนการใช้ภาษารัสเซีย ภายหลังจากนาย Mircea Druc นักเศรษฐศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 นาย Druc ได้ริเริ่มแผนปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเมือง จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 รัฐสภามอลโดวาได้ออกเสียงที่จะให้มีการประกาศเอกราชและการร่างรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดมอลโดวาก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารออกจากมอลโดวาและจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติมอลโดว่าขึ้นมาแทนมอลตา (มอลตา: Malta) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลตา (มอลตา: Repubblika ta’ Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมดประมาณ 475,000 (พฤษภาคม พ.ศ. 2561) คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta)
ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต รังสีอัลตราไวโอเลตทั้งสามชนิดคือ UVA, UVB และ UVC สามารถทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพได้ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย แต่ UVA มีความรุนแรงน้อยที่สุด เพราะไม่สามารถก่อให้เกิดอาการแดดเผา (sunburn) ทว่ายังน่ากลัวอยู่ที่สามารถแปลงสภาพ DNA ได้ จนอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่ร่างกายก็สามารถป้องกันได้ โดยการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมา เพื่อป้องกันการทะลวงของยูวี จึงทำให้ผิวคล้ำดำมากขึ้นนอกจากผิวหนังแล้ว ยูวียังเป็นอันตรายต่อดวงตา โดยเฉพาะ UVB ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า arc eye คือรู้สึกเหมือนมีทรายเข้าตา หรือถ้ารุนแรงกว่านั้นอาจทำให้เป็นโรคต้อกระจก (cataract) อักเสบได้ โดยเฉพาะในหมู่ช่างเชื่อมโลหะ การป้องกันก็คือ สวมใส่แว่นกันแดดป้องกัน หรือแค่ทาโลชั่นที่มีค่า SPF 50+ ขึ้นไป