โตโยต้า ไฮลักซ์ (อังกฤษ: Toyota Hilux) หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า ไฮลักซ์ วีโก้ (Hilux Vigo)(ในรุ่นที่7)/ไฮลักซ์ รีโว่ (Hilux Revo)(ในรุ่นที่8) เป็นรถกระบะที่ถูกผลิตและพัฒนาโดยรถยนต์แบรนด์ โตโยต้า เพื่อมาแทนรถกระบะรุ่นเก่าคือ โตโยต้า สเตาท์ (Toyota Stout) เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลา 8 รุ่น (โฉม) ดังนี้รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2515) โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 1 โฉมแรกนี้ เริ่มผลิตครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Hilux ซึ่งมาจากคำว่า “highly-luxurious” แปลว่า หรูหราเหนือระดับ ซึ่งในที่นี้หมายความว่าหรูหรามากกว่าโตโยต้า สเตาท์ในสมัยนั้น
โฉมแรกนี้มีรหัสตัวถัง RN10 มีขายในสหรัฐอเมริกา ด้วย แต่จะมีรถแบบเดียวคือแบบ 2 ประตู เกียร์ธรรมดา 4 สปีด ขับเคลื่อนล้อหลัง (สมัยนั้นยังไม่มีการนำเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 5 สปีดมาใช้ในไฮลักซ์)
ส่วนเครื่องยนต์จะใช้ขนาด 1490 ซีซี 2R I4 ในช่วงแรก แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ไฮลักซ์ก็ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ 1587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า คือ เริ่มจาก 1897 ซีซี 3R I4 85 แรงม้า, แล้วเปลี่ยนเป็น 1858 ซีซี 8R SOHC I4 97 แรงม้าใน พ.ศ. 2513, และเป็น 1968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้าใน พ.ศ. 2515
รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2521) โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 2 โฉมที่สองนี้ รหัสตัวถัง RN20 มีการปรับปรุงให้ไฮลักซ์มีความสะดวกสบายในห้องโดยสารมากขึ้น ใช้เครื่องยนต์ 1587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในอเมริกา ที่ใช้เครื่องยนต์ 1968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้า ซึ่งต่อมาเครื่องยนต์นี้ถูกนำไปขายควบคู่เป็นทางเลือกกับเครื่อง 1587 ซีซี นอกอเมริกาใน พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2518 ไฮลักซ์มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ให้มีขนาดใหญ่และสะดวกสบายขึ้นอีก มีการนำระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีดมาใช้ในไฮลักซ์เป็นครั้งแรก ใช้เครื่องยนต์ 2189 ซีซี 20R SOHC I4 96 แรงม้า ทำให้ผู้ซื้อในอเมริกัน ตั้งชื่อเล่นให้มันว่า Pickup เป็นต้นกำเนิดของคำว่าปิคอัพ ซึ่งต่อมาคำนี้ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่แปลว่ารถกระบะ
รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2526) โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 3 นี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ม้ากระโดด เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ และเป็นโฉมที่มีการใช้เกียร์อัตโนมัติกับไฮลักซ์ โดยโฉมบุกเบิกนี้จะเป็นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ขายควบคู่กับเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 สปีด ทำให้ไฮลักซ์ได้เข้าสู่วงการรถเอสยูวี (SUV) และรถโตโยต้า โฟร์รันเนอร์ (4Runner) ก็เป็นรุ่นที่แตกหน่อออกมาจากไฮลักซ์โฉมนี้ รุ่นที่ 4 (พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2531)
โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 4 โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตกระบะรุ่นที่นั่ง 2 แถว 2 ประตู (เอ็กซ์ตร้าแค็บ) ขายคู่กับที่นั่ง 1 แถว 2 ประตูแบบดั้งเดิม (ซิงเกิ้ลแค็บ) พรีเซ็นเตอร์ โดยเอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกาหยุดการนำเข้าโตโยต้า ไฮลักซ์ อย่างไม่ทราบเหตุผล โฉมนี้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยว่า โตโยต้า ไฮลักซ์ เฮอร์คิวลิส (Toyota Hilux hercules) ในช่วงต้น และต่อมาเปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า โตโยต้า ไฮลักซ์ ฮีโร (Toyota Hilux Hero) โดยยังคงใช้ตัวถังเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial sources) ได้แก่วัตถุทุกชนิดที่ถูกทำให้ร้อน จนมีอุณหภูมิสูง มากกว่า 2500 องศาเคลวิน สามารถปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ซึ่งเป็นวัตถุ อุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่นไ ทางการแพทย์ ทางการเกษตร เป็นต้นพลังงานของช่วงคลื่นที่แผ่มาจากดวง อาทิตย์ ตั้งแต่ช่วงคลื่นสั้นต่างๆจนถึง 175 นาโนเมตร จะถูกดูดซับด้วยออกซิเจนในชั้นสตราโทสเฟียร์ที่ความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร และพลังงานความยาวคลื่นตั้งแต่ 175 ถึง 280 นาโนเมตร หรืออยู่ในช่วงคลื่นอัลตร้าไวโอเลตซี (UVC) จะถูกดูดชั้นโอโซนทำลาย ซึ่งช่วงคลื่นเหล่านี้มีระดับพลังงานสูงหากผ่านมาถึงผิวโลกจะเป็นอันตรายต่อ มนุษย์มาก แต่ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายลงมากทำให้อัตราการแผ่รังสียูวีซี (UVC) ลงมาถึงผิวโลกมีเพิ่มมากขึ้น สำหรับพลังงานในช่วงคลื่นตั้งแต่ 280-3000 นาโนเมตร ประกอบด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UVB) 280-315 นาโนเมตร รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ (UVA) 315-400 นาโนเมตร ช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น 400-760 นาโนเมตร และรังสีอินฟาเรด 760-3000 นาโนเมตร ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดจะสามารถเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ได้ แต่จะไม่ถูกดูดซับไว้จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ และบี (UVA), (UVB) สามารถเข้าสู่ผิวหนัง และถูกดูดซับไว้ โดยรังสี UVA จะเข้าสู่ผิวหนังลึกสุด และดูดซับมากกว่ารังสี UVB รังสี UVB มีค่าพลังงานมากกว่ารังสี UVA มีผลสามารรถทำลายดีเอ็นเอ (DNA) และเกิดมะเร็งส่วนผิวหนังได้ รังสี UVA ถึงแม้จะมีระดับพลังงานที่ต่ำกว่า แต่ยังสามารถแทรกสู่ผิวได้ลึกกว่า หากสัมผัสในระยะเวลานาน และต่อเนื่องจะทำให้เซลล์ผิวหนังอ่อนล้า เสื่อมเร็ว แลดูเหี่ยวย่น จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นได้ รังสี UV หากได้รับในระดับต่ำจะมีประโยชน์ต่อการสร้างวิตามินดี และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินความเป็นประโยชน์จะมีผลต่อการทำลายระบบภูมิคุ้ม กัน การทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ ทำให้ผิวหนังแลดูเหี่ยวหยุ่นจนถึงขั้นระดับรุนแรงกลายเป็นเซลล์มะเร็งหลังจากที่รังสีอินฟราเรดถูกค้นพบ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันน์ วิลเฮล์ม ริตเตอร์ (Johann Wilhelm Ritter) ได้ทดลองค้นหารังสีที่อยู่ตรงข้ามกับรังสีอินฟราเรด นั่นคือ รังสีอินฟราเรดมีความยาวคลื่นยาวกว่าแสงสีแดง แต่ริตเตอร์ต้องการจะหารังสีชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าสีม่วง เขาได้ใช้กระดาษอาบซิลเวอร์คลอไรด์วางไว้กลางแดด พบว่ากระดาษนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำ ริตเตอร์เรียกรังสีนี้ว่า deoxidizing rays ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็นยูวีดังเช่นในปัจจุบัน นอกจากมีโทษต่อร่างกายแล้วรังสีอัลตราไวโอเลต มีผลกระทบต่อพืชด้วย คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่เพิ่มขึ้นมีโทษทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพืช เช่น ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำลาย DNA และเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในพืช ทำให้ลักษณะทางกายภาพ และขบวนการเจริญเติบโตของพืช เปลี่ยนแปลงไป นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมวลทางชีวภาพและผลิตผลลดลง ถึงแม้ว่าจะมีกลไกที่ลดหรือซ่อมแซมและความสามารถในการปรับตัวต่อการเพิ่มระดับของ UV ที่จำกัด ทำให้การเจริญเติบโตของพืชได้รับผลกระทบโดยตรงจากรังสี UV-B
การเปลี่ยนแปลงทางอ้อมที่เกิดจาก UVB (เช่น การเปลี่ยนรูปร่างของพืช) อาจสำคัญเท่าๆกันหรือบางครั้งก็มากกว่าผลกระทบในการทำลายของ UVB การเปลี่ยนแปลงนี้มีความสำคัญต่อพืชที่มีการแข่งขันกันอย่างสมดุล สัตว์ที่กินพืช โรคพืช และวัฏจักร biogeochemical เช่นกันประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลตนั้นมีมาก ดังจะได้กล่าวคร่าว ๆ ต่อไปนี้ แบล็กไลต์
แบล็กไลต์ (black light) เป็นหลอดที่เปล่งรังสียูวีคลื่นยาว มีสีม่วงดำ ใช้ตรวจเอกสารสำคัญ เช่น ธนบัตร, หนังสือเดินทาง, บัตรเครดิต ฯลฯ ว่าเป็นของจริงหรือปลอม หลายประเทศได้ผลิตลายน้ำที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในรังสีชนิดนี้ นอกจากนี้ แบล็กไลต์ยังสามารถใช้ล่อแมลงให้มาติดกับ เพื่อที่จะกำจัดภายหลังได้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดเรืองแสง ใช้หลักการผลิตรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการทำให้ไอปรอทแตกตัว รังสีที่ได้จะไปกระทบสารเรืองแสงให้เปล่งแสงออกมา ดาราศาสตร์ในทางดาราศาสตร์ โดยปกติแล้ววัตถุที่ร้อนมากจะเปล่งยูวีออกมา เราจึงสามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้โดยผ่านทางยูวี ทว่าต้องไปปฏิบัติในอวกาศ เพราะยูวีส่วนมากถูกโอโซนดูดซับไว้หมด การวิเคราะห์แร่ รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แร่ได้ แม้ว่าจะดูเหมือนกันภายใต้แสงที่มองเห็น แต่เมื่อผ่านยูวีแล้วก็จะเห็นความแตกต่างได้ การฆ่าเชื้อโรค รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะในน้ำดื่ม และยังสามารถนำไปฆ่าเชื้อในเครื่องมือ หรืออาหารได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้กับเครื่องกรองน้ำอย่างแพร่หลาย