เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 รหัสตัวถัง T20 โฉมนี้ โคโรน่า มีรูปทรงที่เหลี่ยมคมมากขึ้น กระจกหน้า-หลัง ตั้งชันมากขึ้นตามสไตล์รถแบบอเมริกันในยุคนั้น และโฉมนี้ มีเข้ามาขายในไทย แต่ได้ใช้ชื่อรุ่นว่า เทียร่า (Tiara) ไม่ใช่ โคโรน่า มิติตัวถัง ยาว 3.99 – 4.03 เมตร , กว้าง 1.49 เมตร , สูง 1.445 – 1.455 เมตร (แล้วแต่ตัวถัง) ในช่วงแรก ใช้เครื่องยนต์สี่สูบ 997 ซีซี 45 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 7 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,200 รอบต่อนาที ต่อมา มีการนำเครื่องยนต์ที่แรงกว่ามาใช้ โดยเป็นเครื่องสี่สูบ 1,453 ซีซี 62 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 11.2 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,000 รอบต่อนาที ใช้เกียร์ธรรมดา 3 สปีดเนื่องจากรถจักรไอน้ำโมกุล C56 บางคันถูกตัดเศษเหล็กที่โรงรถจักรทั่วประเทศ บางคันได้ตั้งเป็นอนุสรณ์ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ และบางคันได้กลับสู่ประเทศญี่ปุ่นตามลำดับดังนี้ ผ่านการใช้งานประเทศไทยและประเทศพม่า (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.000 เมตร) (Metre gauge)
ปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 จากประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยคงเหลืออยู่ 11 คัน และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน รวมทั้งหมด 12 คัน จอดเป็นอนุสรณ์ตามสถานที่ต่างๆทั้งหมด 9 คัน และยังสามารถใช้การได้ทั้งหมด 3 คัน แบ่งได้ดังนี้
จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศไทยอยู่ 7 คัน
-C56-4 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 702) จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย, อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
-C56-16 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 714) จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านทิศเหนือของสถานีรถไฟกรุงเทพ, เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
-C56-23 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 719) จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ใกล้สะพานข้ามแม่น้ำแคว, อำเภอเมืองกาญจนบุรี, จังหวัดกาญจนบุรี
-C56-36 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 728) จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สถานีรถไฟนครลำปาง, อำเภอเมืองลำปาง, จังหวัดลำปาง
-C56-41 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 733) จอดอยู่ที่โรงงานมักกะสัน, เขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร
-C56-47 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 738) จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), อำเภอพุทธมณฑล, จังหวัดนครปฐม
-C56-53 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 744) จอดอยู่ที่ด้านหน้าของบ้านสวนรถไฟรีสอร์ท บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1269, อำเภอหางดง, จังหวัดเชียงใหม่ จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ 1 คัน
-C56-31 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 725) เป็นรถจักรไอน้ำในพิธีเปิดทางรถไฟสายมรณะเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 และประเทศญี่ปุ่นได้ขอซื้อคืนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2522 ปัจจุบันถูกทำสีกลับเป็นสีดำล้วนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศพม่าอยู่ 1 คัน
-C56-56 (หมายเลขของการรถไฟพม่าคือ C.0522) จอดเป็นอนุสรณ์ที่พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟสายมรณะ, เมืองตานพยูซะยะ
ใช้การได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ 1 คัน
-C56-44 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 735) เดิมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อรหัสรถจักร คือ C56-44 ใช้ในทางรถไฟสายมรณะ หลังสงครามครั้งที่ 2 ยุติลง รถจักรไอน้ำคันนี้ ได้ประจำการที่แขวงชุมพร จังหวัดชุมพร หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมดที่ลากจูงรถโดยสารและรถสินค้าเมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 รถจักรไอน้ำคันนี้ สังกัดสุดท้ายที่รถจักรคันนี้เคยอยู่ก่อนถูกนำกลับประเทศญี่ปุ่น คือ แขวงชุมพร โดยหลังจากที่การรถไฟได้เลิกการใช้งานรถจักรไอน้ำทุกชนิดในการลากจูงขบวนรถสินค้า,โดยสาร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 – 2520 รถจักรไอน้ำหลายต่อหลายคันก็ได้ถูกจอดทิ้งเอาไว้ตามแขวงต่างๆ บางคันก็ถูกขายเป็นเศษเหล็ก บางคันโชคดีหน่อยทีทางการได้นำไปตั้งแสดงตามสถานี หรือ สถานที่ต่างๆ รวมทั้งบางส่วนที่มีผู้ติดต่อขอซื้อเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ รถจักรไอน้ำ C56-44 หมายเลข 735 (ร.ฟ.ท.) ซึ่งได้ถูกบริษัท Oigawa Railway หรือ Daitetsu ของประเทศญี่ปุ่นซื้อไป จนสุดท้ายรถจักรคันนี้ได้ถูกนำกลับบ้านเกิดในปีพ.ศ. 2522 และเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ Oigawa Railway แห่งนี้ และถูกขยายล้อเพื่อให้สามารถลงรางรถไฟขนาด 1.067 (Cape Guage) เมตรของประเทศญี่ปุ่นได้ รวมถึงทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบสมัยใช้การในประเทศไทย โดยมีอักษร ร.ฟ.ท. อยู่บริเวณรถลำเลียงและหมายเลข 735 อยู่ด้านข้างห้องขับและด้านหน้าของตัวรถเพื่อทำขบวนรถพิเศษฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี ไทย – ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 และทำขบวนรถท่องเที่ยวในสีนี้จนถึงปี พ.ศ. 2553 ต่อมาถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 ถูกทำเป็นสีแดงและตกแต่งภายนอกทุกอย่างให้เหมือนตัวละครรถจักรไอน้ำชื่อ James the Red Engine ในการ์ตูนเรื่อง Thomas & friends และล่าสุดปี พ.ศ. 2559 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและยังคงใช้การจนถึงทุกวันนี้
ใช้การได้ในประเทศไทยอยู่ 2 คัน โดย ร.ฟ.ท.
C56-15 และ C56-17 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 713 และ 715 ตามลำดับ) รถจักรไอน้ำ 2 คันนี้ ได้รับการบูรณะพร้อมๆกับรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 และ 962 รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และ 850 ในต้นปี พ.ศ. 2529 ซึ่งรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ยังคงใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และเคยทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2529 รวมถึงทำขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยวเป็นเวลาหลายปี ในปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ใช้ไม้หมอนรองรางรถไฟเก่ามาตัดเป็นท่อนๆในการใช้เป็นเชื้อเพลิง และจะใช้ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะจัดงานในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี ประเทศญี่ปุ่น (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.067 เมตร) (Cape gauge) รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ยังคงเก็บรักษาไว้ในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 20 คันซึ่งจอดเป็นอนุสรณ์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น และบางคันยังคงอยู่ในสภาพใช้การได้ ได้แก่
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 735 เดิมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อรหัสรถจักร คือ C56-44 ใช้ในทางรถไฟสายมรณะ หลังสงครามครั้งที่ 2 ยุติลง รถจักรไอน้ำคันนี้ ได้ประจำการที่แขวงชุมพร จังหวัดชุมพร หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมดที่ลากจูงรถโดยสารและรถสินค้าเมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 รถจักรไอน้ำคันนั้น คือ รถจักร C56 44 หรือ หมายเลข 735 ตามหมายเลขที่เคยใช้ในการรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดสุดท้ายที่รถจักรคันนี้เคยอยู่ก่อนถูกนำกลับประเทศญี่ปุ่น คือ แขวงชุมพร โดยหลังจากที่การรถไฟได้เลิกการใช้งานรถจักรไอน้ำทุกชนิดในการลากจูงขบวนรถสินค้า,โดยสาร เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2519 – 2520 รถจักรไอน้ำหลายต่อหลายคันก็ได้ถูกจอดทิ้งเอาไว้ตามแขวงต่างๆ บางคันก็ถูกขายเป็นเศษเหล็ก บางคันโชคดีหน่อยทีทางการได้นำไปตั้งแสดงตามสถานี หรือ สถานที่ต่างๆ รวมทั้งบางส่วนที่มีผู้ติดต่อขอซื้อเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ รถจักรไอน้ำ C56 หมายเลข 735 (ไทย) ซึ่งได้ถูกบริษัท Oigawa Railway หรือ Daitetsu ของประเทศญี่ปุ่นซื้อไป จนสุดท้ายรถจักรคันนี้ได้ถูกนำกลับบ้านเกิดในปีพ.ศ. 2522 และเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ Oigawa Railway แห่งนี้และถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบสมัยใช้การในประเทศไทย โดยมีอักษร ร.ฟ.ท. อยู่บริเวณรถลำเลียงและหมายเลข 735 อยู่ด้านข้างห้องขับและด้านหน้าของตัวรถเพื่อทำขบวนรถพิเศษฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี ไทย – ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 และทำขบวนรถท่องเที่ยวในสีนี้จนถึงปี พ.ศ. 2553 ต่อมาถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 ถูกทำเป็นสีแดงและตกแต่งภายนอกทุกอย่างให้เหมือนตัวละครรถจักรไอน้ำชื่อ James the Red Engine ในการ์ตูนเรื่อง Thomas & friends และล่าสุดปี พ.ศ. 2559 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและยังคงใช้การจนถึงทุกวันนี้
บริษัทรถไฟโออิกาวาได้ซื้อรถจักรคันนี้กลับไปในปี พ.ศ. 2522 และได้นำมาบูรณะจนสามารถวิ่งใช้การได้อีกครั้ง ต่อมาเกิดปัญหาหม้อน้ำทะลุทำให้ต้องหยุดวิ่งไปชั่วคราว (เคยมีความคิดจะปลดระวางรถคันนี้หลังจากเกิดความเสียหายนี้ด้วย) ภายหลังได้มีการนำเอาหม้อน้ำของรถจักรไอน้ำ C12 ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว มาใส่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด ดังนั้นรถจักรไอน้ำ C56 44 คันนี้จึงมีหม้อน้ำที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่จากรถจักรตระกูลเดียวกัน บรรดาอุปกรณ์บางส่วนที่เคยใช้งานในสมัยที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย ได้ถูกถอดออกแล้วนำมาแสดงไว้ที่สถานีเซนซุ อยู่ใกล้กับรถจักรไอน้ำ 49616 ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เป็นในลักษณะกึ่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งให้ผู้คนได้ทราบความเป็นมาของรถจักรคันนี้