เซลิก้ายุค 4 มีรหัสตัวถัง T160 ออกมาเปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเปลี่ยนโฉมใหม่หมด โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า กับแบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ตัวถังรถเริ่มลดความเหลี่ยมลงเมื่อเทียบกับโฉมก่อนๆ และเครื่องยนต์สี่สูบ 1600, 1800 และ 2000 ซีซี ในรุ่นนี้มีทริมแบบ ST, GT และ GT-S โดยในรุ่นทริม GT เปิดประทุนมีหลังคาแบบอ่อนขึ้น รุ่นทริม ST และ GT มากับเครื่อง 2S-E SOHC 8 วาล์ว 2000 ซีซี 92 แรงม้า และได้เปลี่ยนเป็นเครื่องเครื่อง 3S-FE DOHC 116 แรงม้า ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ร่วมกับแคมรี รุ่นทริม GT-S ใช้เครื่อง 3S-GE DOCH 2000 ซีซี 135 แรงม้า ในปี พ.ศ. 2531 โตโยต้าได้แนะนำเครื่อง GT-Four (ชื่อในสหรัฐว่า All-Trac) โดยเป็นรถขับเคลื่อนทุกล้อพร้อมกับเทอร์โบชาร์จ ภายใต้เครื่อง 3S-GTE 190 แรงม้า 2000 ซีซี ซึ่งได้กลายมาเป็นรถแรลลีอย่างเป็นทางการของโตโยต้า โฉมนี้ มีตัวถัง 3 แบบ คือ liftback 3 ประตู, coupe 2 ประตู และ convertible 2 ประตู ระบบเกียร์มีให้เลือกซื้อ 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีดเนเธอร์แลนด์ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 และกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลหลายแสนล้านยูโรให้กับประเทศแต่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติก็ไปกระทบทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นๆถดถอยได้เช่นกัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคดัตช์
แหล่งก๊าซโกรนิงเงิน เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ใกล้เมืองโกรนิงเงิน สร้างรายได้ให้กับประเทศมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 รวมเป็นเงินกว่า 159,000 ล้านยูโรดำเนินการขุดเจาะโดยบริษัท Gasunie ที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าของ แล้วส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่อให้รัฐบาล บริษัท Shell และ Exxon Mobil ใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตาม การขุดเจาะก๊าซส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ผิวโลกมากขึ้น และบางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินไหวสูงถึงระดับ 3.6 ตามมาตราริกเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวมราว 6.5 พันล้านยูโร และประมาณ 35,000 ครัวเรือนได้รับความเสียหาย ประมาณการกันว่าเนเธอร์แลนด์มีแหล่งก๊าซธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณก๊าซสำรองตามธรรมชาติของยุโรป อุตสาหกรรมพลังงานนั้นจึงสร้างรายได้กว่าร้อยละ 11 ของจีดีพีของประเทศ(ในปี ค.ศ. 2014) อย่างไรก็ตาม การใช้ก๊าซธรรมชาติในเนเธอร์แลนด์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปริมาณสำรองเริ่มลดลง ความต้องการใช้ลดลง และเกิดปัญหาแผ่นดินไหวในแถบโกรนิงเงินบ่อยครั้ง นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังผลักดันให้ประเทศสมาชิกลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงและหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแหล่งพลังงานมาใช้พลังงานหมุนเวียนแทนก๊าซนั้นยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอยู่ เพราะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและการผูกขาดพลังงานโดยบริษัทใหญ่ในประเทศมาเกี่ยวข้อง
เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาต เนเธอร์แลนด์มีความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลก (biocapacity) ต่ำ กล่าวคือ มีการสร้างทรัพยากรชีวภาพขึ้นมาใหม่น้อย แต่ในทางกลับกัน ชาวดัตช์มีการเพาะปลูกที่เป็นระบบและมีระบบเกษตรกรรมที่เน้นการส่งออก ชาวดัตช์ราว 4 เปอร์เซ็นต์ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ผลิตสินค้าเกษตรได้ปริมาณสูงเกินความจำเป็นต่อการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร ส่งผลให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกสินค้าเกษตรสูงเป็นอันดับหนึ่งในสหภาพยุโรปและสูงเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาสร้างรายได้กว่า 80.7 พันล้านยูโรในปี ค.ศ. 2014 สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ พริก มะเขือเทศ แตงกวา ตลอดจนดอกไม้และหน่อของดอกไม้ พิพิธภัณฑ์โครงการเดลต้า แสดงหุ่นจำลองของพื้นที่ระบายน้ำ/ระบบกันน้ำท่วม เมืองที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเนเธอร์แลนด์ เช่น อัมสเตอร์ดัม รอตเทอร์ดาม กรุงเฮก เดลฟ์ท
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ นับแต่สหรัฐและพันธมิตรพิชิตญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสองประเทศธำรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการกลาโหมอย่างใกล้ชิด สหรัฐเป็นตลาดสำคัญของสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นและเป็นแหล่งนำเข้าหลักของญี่ปุ่น และผูกมัดป้องกันประเทศญี่ปุ่น โดยมีฐานทัพในประเทศญี่ปุ่นบางส่วนด้วยเหตุนั้นประเทศญี่ปุ่นต่อสู้การควบคุมหมู่เกาะคูริลใต้ (ได้แก่ กลุ่มอิโตะโระฟุ คุนะชิริ ชิโตะคัง และฮะโบะมะอิ) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งสหภาพโซเวียตยึดครองในปี 2488 ประเทศญี่ปุ่นรับรู้การยืนยันของประเทศเกาหลีใต้เกี่ยวกับหินลีอังคอร์ท (หรือ “ทะเกะชิมะ” ในภาษาญี่ปุ่น) แต่ไม่ยอมรับ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับประเทศจีนและประเทศไต้หวันเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ และกับประเทศจีนเหนือสถานภาพของโอะกิโนะโทะริชิมะ
นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2541 ยังได้มีการปรับเพิ่มอุปกรณ์ให้โคโรน่า โดยเพิ่มไฟหน้าฮาโลเจนมัลติรีเฟลกเตอร์, ลายไม้ในห้องโดยสาร, พวงมาลัย 3 ก้านแบบสปอร์ต และถุงลมนิรภัยฝั่งผู้โดยสาร แต่ราคาอยู่ที่ 9.5 แสนบาทซึ่งใกล้เคียงกับคัมรี่ ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อคัมรี่มากกว่าจึงต้องระงับการผลิตไปในปลายปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากคู่แข่งได้เริ่มนำรถ D-Segment ขนาดใหญ่ขึ้นมาทำตลาด ทั้ง Honda Accord และ Nissan Cefiro A32 ในขณะที่มิตซูบิชิและมาสด้าต้องถอนตัวออกจากตลาดจากสภาพเศรษฐกิจที่รุนแรงในยุคนั้น และโตโยต้าก็นำเข้าคัมรี่จากออสเตรเลียมาจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถ้าหากขายโคโรน่า เอ็กซิเออร์ต่อไปก็จะไปแย่งลูกค้ากับคัมรี่และโคโรลล่า จึงต้องปิดสายการผลิตไป