โฉมนี้ เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2554 โดยได้เริ่มจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมในงานมอเตอร์โชว์ พ.ศ. 2555 มีตัวถังแบบเดียวคือตัวถังแบบซีดาน 4 ประตู
มีเครื่องยนต์ 3 รุ่นคือ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร รหัส 1AZ-FE ให้กำลังสูงสุด 148 แรงม้า, เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร รหัส 2AR-FE ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้า และเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร ไฮบริด รหัส 2AR-FXE ให้กำลังสูงสุด 205 แรงม้า แต่ในต่างประเทศจะมีเครื่องยนต์ให้เลือกคือ 2.5 ลิตร, 2.5 ลิตร Hybrid และ 3.5 ลิตร รหัส 2GR-FE V6
โตโยต้า คัมรี่ ได้ยกเลิกรุ่น 2.0E สำหรับขายรถ Fleet, Limousine และรุ่น 3.5Q และในขณะนั้นมีรุ่นย่อย 5 รุ่น ได้แก่
-2.5L Hybrid Navigator
-2.5L Hybrid DVD
-2.5L Hybrid CD
-2.5G
-2.0G (เป็นรุ่นถูกสุดที่ตัดออปชั่นหลายอย่างมาก และยังได้มีการเพิ่มรุ่นพิเศษ Extremo ซึ่งตกแต่งด้วยชุดแต่งต่างๆ ภายในสีดำและสีเบจ)
ด้านความปลอดภัย คัมรี่ได้ทดสอบการชนได้ Good ใน IIHS, และได้รางวัล 5 ดาวใน ANCAP อีกด้วย
ปรับโฉมปี 2558 โตโยต้า คัมรี่ XV50 รุ่นปรับโฉม ด้านหน้า โตโยต้า คัมรี่ XV50 รุ่นปรับโฉม ด้านหลัง หลังจากโตโยต้า คัมรี่ ได้เปิดตัวไปในปี 2555 ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการตัดออปชั่นหลายอย่างออกไป ทำให้โตโยต้า คัมรี่ ได้มีการปรับโฉมใหม่โดยเพิ่มระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยถุงลมนิรภัย 7 ใบ (รุ่น 2.5G ขึ้นไป) ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ด้านข้าง ม่านถุงลม และถุงลมเข่า, ถุงลมนิรภัย 4 ใบ (ในรุ่น 2.0G และ EXTREMO) ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ด้านข้าง ,ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS (Anti-lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรกอิเล็กทรอนิกส์ EBD (Electronic Brake-force Distribution) และ ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist), ระบบช่วยเหลือการทรงตัวเสถียรภาพ VSC (Vehicle Stability Control), ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC (Traction Control), ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC (Hill-start Assist Control, ระบบเตือนมุมอับสายตา BSM (Blind Spot Monitor), ระบบช่วยเตือนขณะถอยหลัง RCTA (Rear Cross Taffic Alert), กล้องมองหลัง, ไฟฉุกเฉินกะพริบอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน ESS (Emergency Stop Signal), Parking Sensor ด้านหน้า 2 จุด ด้านท้าย 4 จุด, ระบบปรับไฟสูงปรับอัตโนมัติ AHB (Auto High Beam) (เฉพาะ HYBRID Premium), ระบบป้องกันรถออกนอกช่องทาง LDW (Lane Departure Warning) (เฉพาะ HYBRID Premium), ระบบครูสคอนโทรลแปรผันรักษาระยะห่างจากรถคันหน้า DRCC (Dynamic Radar Cruise Control) (เฉพาะ HYBRID Premium) และ ระบบเสริมความปลอดภัยก่อนการชน เรดาร์จับสิ่งกีดขวางหน้ารถพร้อมกับรัดเข็มขัดนิรภัยให้แน่นขึ้นและเบรกอัตโนมัติ PCS (Pre-Crash Safety) (เฉพาะ HYBRID Premium) ส่วนภายนอก ได้มีการเปลี่ยนการออกแบบกระจังหน้าใหม่ตามแบบ Keen Look และปรับเปลี่ยนการออกแบบไฟท้ายใหม่
ส่วนสำหรับเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร โตโยต้า คัมรี่ 2015 ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์รหัส 6AR-FSE VVT-iW พร้อมหัวฉีดใหม่ D-4S ขนาดกระบอกสูบ 1,998 ซีซี กำลัง 167 แรงม้า แรงบิด 199 นิวตันเมตร จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติทอร์คคอนเวอร์เตอร์ 6 จังหวะ ในรุ่นปรับโฉม มีรุ่นย่อยทั้งหมด 6 รุ่น ประกอบด้วย
-รุ่น 2.0G ราคา 1,319,000 บาท
-รุ่น 2.0 Extremo ราคา 1,429,000 บาท
-รุ่น 2.5G ราคา 1,569,000 บาท
-รุ่น 2.5 ESPORT ราคา 1,639,000 บาท
-รุ่น 2.5HV Hybrid CD ราคา 1,679,000 บาท
-รุ่น 2.5HV Hybrid Navigator ราคา 1,729,000 บาท
-รุ่น 2.5HV Hybrid Premium ราคา 1,899,000 บาท
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟหลวงได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น “P”)
รถจักรไอน้ำ รุ่น C58 เป็นรถจักรที่มีการจัดวางล้อแบบ 2-6-2 สร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2481 ถึง พ.ศ. 2490 โดยบริษัท Kawasaki และ บริษัท Kisha Seizo มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 427 คัน , น้ำหนักของรถจักรพร้อมใช้งาน 58.7 ตัน , แรงดันไอน้ำ 16 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร , น้ำหนักกดเพลา 13.5 ตัน , เส้นผ่านศูนย์กลางล้อกำลังและล้อโยง 1,520 มิลลิเมตร , มีความยาวของรถจักรและรถลำเลียงรวมกัน 18.27 เมตร ใช้กับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร เนื่องจากรถจักรรุ่นนี้ส่วนหนึ่งถูกสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้นมา ทำให้เมื่อเกิดสงครามขึ้นมาแล้ว กองทัพญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถจักรไอน้ำจำนวนหนึ่งเพื่อการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถจักรไอน้ำ C56 ดังที่เคยได้อธิบายไปแล้ว และปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนมากมาย รวมทั้งเราเองก็ยังมีรถจักรรุ่นนี้ใช้งานอยู่ส่วนหนึ่ง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ารถจักรไอน้ำ C58 รุ่นนี้ ก็เป็นหนึ่งในรถจักรที่ถูกส่งมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการขนส่งลำเลียงกองทัพญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน มีการปรับปรุงแก้ไขรถจักรเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรถพ่วงที่ใช้อยู่ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียงเช่นเดียวกับรถจักรไอน้ำ C56 อาทิเช่น เปลี่ยนขอพ่วงจากเดิมที่เป็นขอพ่วงอัตโนมัติมาเป็นขอพ่วงเอบีซี , ติดตั้งเครื่องไล่ลม หรือ เครื่องสร้างสูญญากาศเพื่อใช้สั่งการกับระบบห้ามล้อรถพ่วง , เปลี่ยนขนาดล้อของรถจักรและรถลำเลียงเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรางกว้าง 1 เมตร โดยใช้วิธีเดียวกันกับแบบรถจักรไอน้ำ C56 คือ การใช้แว่นล้อเดิมที่ใช้งานกับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร แต่เปลี่ยนปลอกล้อใหม่ให้มีความกว้างของพื้นล้อมากขึ้นเพื่อให้เกาะกับรางกว้าง 1 เมตร ซึ่งวิธีการนี้เองทำให้พื้นล้อกำลังของรถจักรไอน้ำทั้งสองรุ่นนี้กว้างกว่างรถจักรไอน้ำแบบอื่นที่ประเทศไทยเคยใช้การมา