โฉมนี้เปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปีพ.ศ. 2549เริ่มผลิตเมื่อรุ่นปี พ.ศ. 2550 และโตโยต้ามีแผนจะผลิตคัมรี่โฉมนี้ไป 5 รุ่นปีดังเดิม โดยมีแผนจะผลิตโฉมนี้ไปจนถึงรุ่นปี พ.ศ. 2554 โฉมนี้ จัดเป็นรถขนาดกลาง (Mid-Size Car)โฉมนี้ ขับเคลื่อนล้อหน้า มีเครื่องยนต์ 3 แบบ คือ 2.0 ลิตร 1AZ-FE (147 แรงม้า) 2.4 ลิตร 2AZ-FE (167 แรงม้า) และ 3.5 ลิตร 2GR-FE (272 แรงม้า)มาในภายหลัง มีตัวถัง 1 แบบ คือ Sedan 4 ประตู มี 5 ระบบเกียร์ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด (ในรุ่น 2.0 ลิตร) ,อัตโนมัติ 5 สปีด , อัตโนมัติ 6 สปีด , ธรรมดา 5 สปีด และธรรมดา 6 สปีด แต่ในประเทศไทย เกียร์ธรรมดาในคัมรี่ถูกยกเลิก
ในประเทศไทยแบ่งรุ่นย่อยออกเป็น 5 รุ่นดังนี้
-2.0E เป็นเกรดต่ำสุด สำหรับขายรถ Fleet ลดอุปกณ์บางอย่างออกไปเช่น วิทยุพร้อมเครื่องเล่นซีดี/MP3 1 แผ่น ,กุญแจรีโมทพร้อมสัญญาณกันขโมย ,พวงมาลัยและหัวเกียร์หุ้มด้วยยูรีเธน ,เบาะนั่งหุ้มด้วยกำมะหยี่ (ปรับมือ) ,ล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้ว พร้อมยาง 215/60 ,ไม่มีไฟตัดหมอกหลัง ,สวิตซ์ควบคุมระบบปรับอากาศและเครื่องเสียงที่พวงมาลัย ,มือเปิดประตูและคิ้วเปิดฝากระโปรงท้ายสีเดียวกับตัวรถ ,ถุงลมนิรภัยคู่หน้า
-2.0G เป็นเกรดบนสุดของเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร สำหรับประชาชนทั่วไป มีอุปกรณ์เพิ่มมา เช่น วิทยุพร้อมเครื่องเล่นซีดี/MP3 6 แผ่น ,กุญแจรีโมทพร้อมสัญญาณกันขโมย ,พวงมาลัยหุ้มด้วยหนังสลับลายไม้ ,เบาะนั่งหุ้มด้วยหนัง ,เบาะคู่หน้าปรับไฟฟ้า ,ไฟตัดหมอกหน้า-หลัง ,ล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้ว พร้อมยาง 215/60 ,ตกแต่งภายในลายไม้ ,ครูซคอนโทรล ,ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ ,มือเปิดประตูและคิ้วเปิดฝากระโปรงท้ายโครเมียม ,ไฟหน้าปรับระดังสูงต่ำได้ ,ถุงลมนิรภัยด้านข้าง
-2.4G อุปกรณ์ในแง่ความสะดวกและความปลอดภัยในภาพรวมจะน้อยกว่ารุ่น 2.0G แต่จะได้สัญญาณเตือนกันชนท้าย ไฟหน้า HID ปรับระดับอัตโนมัติ
-2.4V เป็นเกรดบนสุดของเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร มีอุปกรณ์เพิ่มมาจากรุ่น 2.0G เช่น พวงมาลัยและหัวเกียร์ตกแต่งด้วยลายไม้ ,ไฟหน้า HID ปรับระดับอัตโนมัติพร้อม AFS ,ครูซคอนโทรล ,ม่านบังแดดหลังไฟฟ้า ,ล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว พร้อมยาง 215/55 ,กระจกมองข้างพับอัตโนมัติ ,กุญแจอัจฉริยะ ,สัญญาณกะระยะรอบคัน(รุ่น Navi ไม่มีสัญญาณถอยหลัง) ,ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวของรถ VSC ,พัดลมเป่ากันที่เบาะคู่หน้า (มีระบบเครื่องเสียงให้เลือก 3 แบบคือ วิทยุพร้อมเครื่องเล่นซีดี/MP3 6 แผ่น ,เครื่องเล่น DVD พร้อมจอ 6.5 นิ้ว ,ระบบนำทางในรถยนต์พร้อมกล้องถอยหลังและเครื่องเล่น DVD)
-3.5Q เป็นเกรดบนสุด มีอุปกรณ์เพิ่มมาจากรุ่น 2.4V เช่น เกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด Sequential Shift ,หลังคามูนรูฟ ,พวงมาลัยปรับไฟฟ้าพร้อมระบบบันทึกตำแหน่ง ,ระบบความปลอดภัยก่อนการชน Pre Crash ,ระบบควบคุมความเร็วแบบไดนามิกเรดาร์ ,โทนสีภายในสีดำ ,เบาะหลังปรับเอนได้ด้วยไฟฟ้า ,แผงควบคุมอุปกรณ์ที่พักแขนเบาะหลัง ,เครื่องเล่น DVD พร้อมระบบนำทาง ,กล้องมองหลัง ,ระบบ Hands Free แบบ Bluetooth
นอกจากนั้นยังนำรุ่น 2.0G และ 2.4V 6CD/MP3 มาผลิตเป็นกรณีพิเศษจำนวนจำกัดในรุ่น Extremo โดยตกแต่งดังนี้
ภายนอกรถสีขาวมุก ภายในรถสีดำ ชุดแต่งรอบคัน ล้ออัลลอยด์ 17 นิ้ว พร้อมยาง 215/55 จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ขึ้นโดย ให้ล้ออัลลอยด์ 17 นิ้ว เฉพาะรุ่น 3.5Q รุ่น 2.4V ถูกทำเป็น 2.4 Hybrid หมด และลดขนาดล้ออัลลอยด์เหลือ 16 นิ้ว พร้อมยาง 215/60 (มีระบบเครื่องเสียงให้เลือก 3 แบบคือ วิทยุพร้อมเครื่องเล่นซีดี/MP3 6 แผ่น ,เครื่องเล่น DVD พร้อมจอ 6.5 นิ้ว ,ระบบนำทางในรถยนต์พร้อมกล้องถอยหลังและเครื่องเล่น DVD)
เพิ่มม่านบังแดดหลังไฟฟ้า และม่านบังแดดประตูหลัง ในรุ่น 2.0G
ตัดถุงลมนิรภัยด้านข้างออกในรุ่น 2.0G
เพิ่มระบบจัดการรวมไดนามิคของตัวรถ VDIM (Vehicle Dynamics Integrated Management) ในรุ่น Hybrid เพิ่มรุ่น 2.4G โดยให้ Option เท่ากับรุ่น 2.0G หรือมากกว่านิดหน่อยเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ไม่ต้องการ Hybrid รุ่น 2.0G ,2.4G ,2.4 Hybrid ระบบเครื่องเสียง วิทยุพร้อมเครื่องเล่นซีดี/MP3 6 แผ่น เพิ่มช่องต่อ AUXโฉมนี้เป็นโฉมแรกที่คัมรี่เจเนอเรชันใหม่ถูกนำเข้าตลาดไทยในปีเดียวกับต่างประเทศ (เริ่มขาย พ.ศ. 2549-2554)รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58 หรือ รถจักรไอน้ำ C58 (JNR Class C58) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C58 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของ ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยกองทัพญี่ปุ่นในมลายู (หรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมา รถจักรไอน้ำแพรรี่ทั้ง 4 คัน ประกอบด้วย C58-52, C58-54, C58-130 และ C58-136 จึงขายให้ประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อหมายเลขรถจักรชุดนี้คือ 761 ถึง 764 ตามลำดับ
ชี้นำกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจากความสนใจสมัยสงครามเย็นต่ออดีตสหภาพโซเวียตสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทดินแดนเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ เศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการทำงานที่ดีของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ[ โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้นแต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว