โฉมนี้ ขับเคลื่อนล้อหน้า มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด คือ 2.2 ลิตร 5S-FE (130 แรงม้า) กับ 3.0 ลิตร 1MZ-FE (194 แรงม้า) มีตัวถัง 2 แบบ คือ Sedan 4 ประตู และ Station Wagon 4 ประตู มี 2 ระบบเกียร์ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด และ ธรรมดา 5 สปีด เช่นเดียวกับโฉมเดิม
โฉมนี้ รุ่นปีแรกๆกับรุ่นปีท้ายๆ มีความแตกต่างกันในรายละเอียดพอควร พ่อค้ารถในไทยและวงการรถไทยจึงใช้ชื่อเรียกโฉมที่ต่างกัน โดยในรุ่นแรกๆ เรียกว่า “โฉมไฟท้ายไม้บรรทัด” (ไฟยาว) ส่วนรุ่นท้ายๆ จะเรียก “โฉมท้ายย้อย” (ไฟย้อย) แต่การขายก็ล่าช้ากว่าต่างประเทศ โดยขายระหว่าง พ.ศ. 2542-2545
ในประเทศไทย โฉมนี้ ในช่วงแรกคัมรี่ยังต้องนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย แต่ใน พ.ศ. 2543 ก็ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
ในประเทศไทยแบ่งรุ่นย่อยออกเป็น 2 รุ่นดังนี้
-2.2GXi (มีให้เลือก เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด) เป็นรุ่นต่ำสุด เบาะกำมะหยี่สีเทา ภายในสีเทา เครื่องปรับอากาศธรรมดา วิทยุเทป 4 ลำโพง เป็นรุ่นประหยัดที่เพิ่มเข้ามาใน พ.ศ. 2543 ภายหลังจากย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
-2.2SE.G (มีให้เลือก เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เบาะกำมะหยี่, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด เบาะกำมะหยี่ และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เบาะหนัง) เป็นเกรดบนสุด เครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ ,วิทยุพร้อมเครื่องเล่นซีดี 6 แผ่นด้านหน้า 2DIN 6 ลำโพง ,ภายในสีเบจ ,ตกแต่งลายไม้ ,เบาะคนขับและผู้โดยสารปรับไฟฟ้า 6 ทิศทาง
ข้อแตกต่างของคัมรี่รุ่นไฟท้ายไม้บรรทัด ระหว่างรุ่นที่ผลิตในประเทศออสเตรเลีย กับรุ่นที่ผลิตในประเทศไทย คือ คัมรี่ออสเตรเลียที่ขายในช่วงแรก มีเฉพาะรุ่น 2.2SE.G เท่านั้น แต่จะเป็น 2.2SE.G ที่ภายในสีเทา ไม่มีลายไม้ ล้ออัลลอยก้านตรง เบาะปรับมือ ในขณะที่ 2.2SE.G รุ่นประเทศไทย จะได้ภายในสีครีม ตกแต่งลายไม้ ล้ออัลลอยก้านเฉียง เบาะปรับไฟฟ้า
ทุกรุ่นมีระบบเบรกป้องกันล้อล็อกและถุงลมนิภัยคู่หน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และหลังการปรับโฉมเป็นรุ่นไฟท้ายย้อย ได้เพิ่มไฟตัดหมอกในทุกรุ่น และตัดรุ่น 2.2SE.G เกียร์ธรรมดาออกจากสายการผลิตในยุคคามากูระ คิโยซุเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสัญจรระหว่างเมืองคามากูระและเกียวโต โดยมีศาลเจ้าใหญ่อิเซะเป็นจุดแวะพัก จนกระทั่งในยุคมูโรมาชิ ก็มีการสร้างปราสาทคิโยซุขึ้น ซึ่งได้กลายเป็นฐานที่มั่นของตระกูลโอดะ ในยุคเซ็งโงกุ ขุนพลโอดะ โนบูนางะได้ใช้ปราสาทแห่งนี้ในการปกครองมณฑลโอวาริ เมื่อเข้าสู่ยุคเอโดะ โชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุก็ได้บัญชาให้รื้อปราสาทคิโยซุไปตั้งไว้ที่เมืองนาโงยะ ส่วนปราสาทคิโยซุในปัจจุบันนี้ เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2532รถไฟญี่ปุ่นคีวชู สาย คีวชู ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 九州新幹線) เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างสองเมืองหลักบนเกาะคีวชูอย่าง ฟุกุโอะกะ และ คาโงชิมะ โดยที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้วิ่งขนาดไปกับรางรถไฟเดิมของสายหลักคาโงชิมะ ดำเนินงานโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นคีวชู (JR คีวชู) โดยที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเริ่มก่อสร้างจากคาโงชิมะเป็นระยะทาง 127 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี 2004 และต่อมาจึงก่อสร้างต่อไปบรรจบกับซันโย ชิงกันเซ็งที่สถานีฮากาตะเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี 2011รถจักรไอน้ำแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 (CX50 steam locomotive) (JNR Class CX50) (ญี่ปุ่น: CX50形) ส่วนใหญ่เรียกว่ารถจักรนี้ว่า รถจักรไอน้ำแปซิฟิค เป็นชุดรถจักรไอน้ำสุดท้ายของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในประเทศไทย สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น จุดประสงค์หลักของรถจักรชุดนี้คือใช้ลากรถโดยสารเช่นขบวนรถธรรมดา และรถเร็ว ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 เหลือส่วนห้องขับทั้งหมด 2 ห้องที่สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) ได้แก่ของหมายเลข 823 และ 841 และเหลือการใช้งาน 2 คัน คือหมายเลข 824 และ 850 ซึ่งจะวิ่งในวันสำคัญต่างๆ รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 มีการนำมาใช้งานในประเทศไทย จำนวนรถทั้งสิ้น 40 คัน คือหมายเลขรถ 283-292 และ 821-850 โดยการนำเข้ามาใช้งาน แบ่งเป็นสองช่วง (ล็อต) ต่อไปนี้
ช่วงแรก (พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2486) รถจักรหมายเลข 283 – 292 โดยทางญี่ปุ่นได้จัดหาทดแทนรถจักรไอน้ำฮาโนแม็ค ที่การรถไฟได้รับมอบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2468) เนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องอะไหล่ของรถจักร แบบล้อของรถจักรไอน้ำแปซิฟิค ช่วงที่สอง (พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494) รถจักรหมายเลข 821 – 850 เป็นช่วงที่การรถไฟฯ สั่งนำเข้ามาใช้โดยตรงโดยโครงการบูรณะกิจการรถไฟระวัติ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่า “รถจักรไอน้ำแมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ตามโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ทางการได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น 50 คัน และในปีถัดไปอีก 50 คัน เป็นรถจักรแบบมิกาโดและแปซิฟิค เหมือนกันกับรถจักรที่เคยซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น แต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้นอีก รถจักรจำนวน 100 คันนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่จะมีใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรถไฟฯ มีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้การแทนรถจักรไอน้ำเดิมใช้การในเส้นทางรถไฟสายใต้ ตั้งแต่สถานีรถไฟบางกอกน้อย (สถานีรถไฟธนบุรี) ส่วนใหญ่จะทำขบวนรถเร็วไปถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
และได้ปลดระวางเลิกใช้การเข้ามานอนจอดสงบนิ่งอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี รางข้างโรงรถจักรจอดอยู่คันในสุดของรถจักรรวม 4 คันในรางนี้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2528 ทางการรถไฟฯมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู บูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นจำนวน 6 คันแบ่งเป็นรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 2 คันคือ 953 และ 962 รถจักรไอน้ำ แปซิฟิก CX50 2 คันคือ 824 และ 850 และรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 และ 715 โดยศูนย์กลางซ่อมอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี ในยุคที่นายสวัสดิ์ ม้าไว เป็นสารวัตรรถจักรธนบุรี โดยการขับเคลื่อนของนายช่าง สุเมธ หนูงาม ตำแหน่งวิศวกรอำนวยการลากเลื่อนในขณะนั้น ท่านได้ระดมอุปกรณ์อะไหล่ที่เก็บไว้ที่ โรงรถจักรทุ่งสง และโรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมช่างฝีมือจากทุ่งส่งจำนวน 4 นาย มาร่วมกับช่างฝีมือที่ธนบุรีเพื่อ พร้อมซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำดังกล่าวข้างต้น การซ่อมรถจักรไอน้ำในครั้งนั้นใช้เวลาซ่อมจำนวน 4 เดือนจึงสามารถทำการทดลองวิ่งตัวเปล่ารถจักร 962 & 953 จาก ธนบุรี – วัดงิ้วราย – ธนบุรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 10 ตู้ในวันที่ 13 มีนาคม 2529 สำหรับรถจักร 824 & 850 ซ่อมเสร็จทำการทดลองวิ่งตัวเปล่าจาก ธนบุรี – วัดงิ้วราย – ธนบุรี ในวันที่ 19 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 8 ตู้ในวันที่ 22 มีนาคม 2529 ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 2529 เป็นวันคล้ายวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจัดรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 พหุกับ รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 962 เดินขบวนพิเศษจากสถานีกรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินรถจักรไอน้ำในโอกาสพิเศษ และเป็นการเดินรถจักรไอน้ำครั้งแรกหลังจากที่ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2517 เป็นระยะเวลา 12 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนสองข้างทางรถไฟอย่างมากมาย พนักงานขับรถจักรไอน้ำในครั้งนั้น คือนายชำนาญ ล้ำเลิศ (เสียชีวิตแล้ว) นายกุล กุลมณี (เสียชีวิตแล้ว) และต่อมาก็ทำการซ่อมรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 และ 715 เพิ่มอีก 2 คันเพื่อทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2529 รถจักรไอน้ำทุกคันที่มีการซ่อม ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้า ห้ามล้อ และเครื่องยนต์ของรถจักร Henschel เพื่อต่อพหุ ทำขบวนเป็นขบวนพิเศษนำทางขบวนเสด็จจาก กรุงเทพ – กาญจนบุรี – ท่ากิเลน และไปจอดรอที่ป้ายหยุดรถวังสิงห์ หมายกำหนดการ ใช้รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 พหุกับ รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 ลากจูงขบวนเสด็จจาก สถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ไปถึงสถานีกาญจนบุรี โดย นายชำนาญ ล้ำเลิศ เป็น พนักงานขับรถคันนำ เมื่อทำขบวนเสด็จถึงสถานีกาญจนบุรี จอดเทียบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชบริพาร ประชาชนเฝ้าเสด็จ และทางการรถไฟฯ ก็ได้ทำการเปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำใหม่โดยนำเอาหัวรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 พหุ 715 ทำขบวนเสด็จต่อจาก สถานีกาญจนบุรี ไป ที่สถานีท่ากิเลน และเสด็จทางรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่ากิเลนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กม. พนักงานรถจักรที่มีหน้าที่ขับรถชื่อนายกุล มณีกุล